วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Data ware house

คลังข้อมูล (data warehouse) คือ ฐานข้อมูลขนาดยักษ์ ที่รวบรวมฐานข้อมูลจากหลายแหล่งหลายช่วงเวลา
คลังข้อมูลแตกต่างจากฐานข้อมูลอย่างไร?
โดยปกติแล้ว ฐานข้อมูลในองค์กรทั่วไปจะมีลักษณะที่ค่อนข้างทันต่อเหตุการณ์ เช่น ฐานข้อมูลพนักงานก็จะเก็บเฉพาะพนักงานในปัจจุบัน จะไม่สนใจข้อมูลพนักงานเก่า ๆ ในอดีต ซึ่งอาจจะมีข้อมูลอะไรบางอย่าง ที่มีประโยชน์สำหรับผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและคุณลักษณะต่าง ๆ ขององค์กร. นอกจากนี้ ฐานข้อมูลแต่ละอันมักถูกออกแบบมาใช้เก็บข้อมูลเฉพาะด้าน จึงมีข้อมูลเฉพาะบางส่วนขององค์กรเท่านั้น ฉะนั้นคลังข้อมูลจึงถูกออกแบบมา เพื่อรวบรวมข้อมูลในทุกส่วนของทั้งบริษัท ทั้งเก่าและใหม่ไว้ด้วยกัน ไม่มีการลบทิ้งข้อมูลเก่า ๆ ที่ไม่จริงในปัจจุบัน
โดยสรุปคือ
คลังข้อมูล ใช้เพื่อการวิเคราะห์ (ข้อมูลทั้งอดีตและปัจจุบัน)
ฐานข้อมูล ใช้เพื่อทำการประมวลผล (เฉพาะข้อมูลปัจจุบัน)
ถ้าองค์กรมีคลังข้อมูลหลาย ๆ อันเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ต่าง ๆ แตกต่างกันไป เช่น คลังข้อมูลด้านการเงิน และ คลังข้อมูลด้านทรัพยากรมนุษย์ เรามักเรียกคลังข้อมูลเฉพาะด้านเหล่านี้ว่า
ตลาดข้อมูล data marts
อนึ่ง กระบวนการในการใช้ข้อมูลในคลังข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ และวางแผนในทางธุรกิจ มักถูกเรียกว่า ปัญญาธุรกิจ (business intelligence)
การวิเคราะห์ข้อมูลในคลังข้อมูล
มีสองประเภทใหญ่ ๆ คือ
Online Analytical Processing
Online Analytical Processing
(OLAP) คือการใช้คำค้น (query) เพื่อค้นหาข้อมูลในคลังข้อมูลเหมือนในฐานข้อมูล เหตุผลที่เราไม่ค้นในฐานข้อมูล แต่มาทำในคลังข้อมูลแทนมีสองสาเหตุคือ
ความเร็ว
ความครอบคลุมของข้อมูลทั้งบริษัทที่มีอยู่ในคลังข้อมูล
การทำเหมืองข้อมูล
การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) คือ การหารูปแบบ (pattern) อะไรบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล ที่มองผิวเผินแล้วไม่อาจสังเกตเห็นได้ เนื่องจากข้อมูลมีปริมาณมาก เช่น การค้นหากฎความสัมพันธ์ (association rules) ของสินค้าในห้างสรรพสินค้า เราอาจพบว่าลูกค้าร้อยละ 90 ที่ซื้อเบียร์ จะซื้อผ้าอ้อมเด็กด้วย, ซึ่งเป็นข้อมูลให้ทางห้างคิดรายการส่งเสริมการขายใหม่ๆ ได้; หรือ ธนาคารอาจพบว่า คนทั่วไปที่มีอายุ 20-29 ปี และมีรายได้ในช่วง 20,000-30,000 บาท มักซื้อเครื่องเล่นเอ็มพีสาม, ธนาคารอาจเสนอให้คนกลุ่มนี้ทำบัตรเครดิต โดยแถมเครื่องเล่นดังกล่าว เป็นต้น

คลังข้อมูลแตกต่างจากฐานข้อมูลอย่างไร?
โดยปกติแล้ว ฐานข้อมูลในองค์กรทั่วไปจะมีลักษณะที่ค่อนข้างทันต่อเหตุการณ์ เช่น ฐานข้อมูลพนักงานก็จะเก็บเฉพาะพนักงานในปัจจุบัน จะไม่สนใจข้อมูลพนักงานเก่า ๆ ในอดีต ซึ่งอาจจะมีข้อมูลอะไรบางอย่าง ที่มีประโยชน์สำหรับผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและคุณลักษณะต่าง ๆ ขององค์กร. นอกจากนี้ ฐานข้อมูลแต่ละอันมักถูกออกแบบมาใช้เก็บข้อมูลเฉพาะด้าน จึงมีข้อมูลเฉพาะบางส่วนขององค์กรเท่านั้น ฉะนั้นคลังข้อมูลจึงถูกออกแบบมา เพื่อรวบรวมข้อมูลในทุกส่วนของทั้งบริษัท ทั้งเก่าและใหม่ไว้ด้วยกัน ไม่มีการลบทิ้งข้อมูลเก่า ๆ ที่ไม่จริงในปัจจุบัน
โดยสรุปคือ
คลังข้อมูล ใช้เพื่อการวิเคราะห์ (ข้อมูลทั้งอดีตและปัจจุบัน)
ฐานข้อมูล ใช้เพื่อทำการประมวลผล (เฉพาะข้อมูลปัจจุบัน)
ถ้าองค์กรมีคลังข้อมูลหลาย ๆ อันเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ต่าง ๆ แตกต่างกันไป เช่น คลังข้อมูลด้านการเงิน และ คลังข้อมูลด้านทรัพยากรมนุษย์ เรามักเรียกคลังข้อมูลเฉพาะด้านเหล่านี้ว่า ตลาดข้อมูล (data marts)
อนึ่ง กระบวนการในการใช้ข้อมูลในคลังข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ และวางแผนในทางธุรกิจ มักถูกเรียกว่า ปัญญาธุรกิจ (business intelligence).


ประเด็นที่ต้องพิจารณา
ในการรวมฐานข้อมูล อาจมีปัญหาว่าฐานข้อมูลแต่ละอัน อาจถูกออกแบบจากผู้ออกแบบหลายๆ คนทำให้มี schema แตกต่างกันไป (schema ในที่นี้หมายถึงการออกแบบ REA model ว่าจะมีกี่ตาราง แต่ละตารางเชื่อมกันอย่างไร มีอะไรเป็น primary key, foreign key เป็นต้น) ปัญหาใหญ่ก็คือจะนำฐานข้อมูลที่มีความแตกต่างกันมารวมกันได้อย่างไร
เมื่อรวมกันแล้วต้องการให้ schema ของคลังข้อมูลมีลักษณะแบบไหน. การออกแบบคลังข้อมูลโดยทั่วไป มักจะออกแบบตรงข้ามกับฐานข้อมูลอย่างสิ้นเชิง
การออกแบบฐานข้อมูลเรามักต้องการให้มี schema ที่ปรับปรุงได้ง่ายๆ (เพราะเราต้องประมวลผลบ่อย) คือในแต่ละตารางมี primary key น้อยๆ และมีตารางจำนวนมากเชื่อมต่อกัน นั่นคือใน REA model มักจะมีหลาย ๆ ตาราง
ในคลังข้อมูลเราต้องการให้เรียกข้อมูลที่ต้องการดู (query) ง่ายๆ และรวดเร็ว นอกจากนั้นเราไม่ค่อยได้แก้ไขปรับปรุงคลังข้อมูล จึงมักออกแบบให้มีตารางน้อยๆ schema ที่นิยมใช้ในคลังข้อมูลคือ star schema (ดู Fig. 15-7)

การวิเคราะห์ข้อมูลในคลังข้อมูล
มีสองประเภทใหญ่ ๆ คือ

Online Analytical Processing
Online Analytical Processing (OLAP) คือการใช้คำค้น (query) เพื่อค้นหาข้อมูลในคลังข้อมูลเหมือนในฐานข้อมูล เหตุผลที่เราไม่ค้นในฐานข้อมูล แต่มาทำในคลังข้อมูลแทนมีสองสาเหตุคือ
ความเร็ว
ความครอบคลุมของข้อมูลทั้งบริษัทที่มีอยู่ในคลังข้อมูล
ลักษณะการจัดเก็บข้อมูลที่ OLAP สามารถเรียกใช้
รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลที่ทรงประสิทธิภาพมีอยู่ 3 ชนิดที่ (OLAP) สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational DataBase) โดยทั่วไปแล้วระบบงานประจำมีการจัดเก็บข้อมูลแบบ RDBMS และ data warehouse ก็มีการจัดเก็บข้อมูลแบบ RDBMS ซึ่งอาจจะมีโครงสร้างข้อมูล แบบ star schema และอาจจะเป็นได้ทั้ง normalized & denormalized
2. ฐานข้อมูลหลายมิติ ( multidimentional database) ข้อมูลที่จัดเก็บในฐานข้อมูลหลายมิติอาจมาจากฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ หรือระบบงานปัจจุบันโดยจะแปลง การจัดเก็บข้อมูลเสียใหม่ โดยมีโครงสร้างการจัดเก็บแบบ array โดยทั่วไปแล้วฐานข้อมูลหลายมิติจะยอมให้สิทธิการเขียนข้อมูลลงในฐานข้อมูล ในช่วงเวลาหนึ่งเพียงคนเดียว แต่อนุญาตให้หลาย ๆ คน เข้าค้นหาข้อมูลในเวลาเดียวกัน หรือมิฉะนั้นก็อนุญาตให้ค้นหาข้อมูลเพียงอย่างเดียว
3. เก็บข้อมูลไว้ที่ client ลักษณะของfile (client-base files) ในกรณียอมให้client ดึงข้อมูลจำนวนไม่มากนักมาเก็บไว้ซึ่งเหมาะกับการประมวลผลแบบกระจาย หรือการสร้างคำสั่งให้ข้อมูลปรากฏบน web
OLAP ที่เกี่ยวข้องกับสาขาอื่นๆ
OLAP นับเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อสาขาธุรกิจในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เนื่องจากความซับซ้อนที่มากขึ้น และเวลาที่น้อยลงสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ OLAP จึงเป็นคำตอบที่เหมาะสมมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะจุดเด่นที่สำคัญของ OLAP ประกอบด้วย การตอบสนองต่อการคิวรีของผู้ใช้ที่กินเวลาไม่มาก การทำงานที่ไม่ขึ้นกับขนาดและความซับซ้อนของฐานข้อมูล แอปพลิเคชัน OLAP ช่วยงานการวิเคราะห์ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบ การนำเสนอในมุมมองเฉพาะ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังและคาดการณ์ข้อมูลในอนาคตตามโมเดลการตอบคำถามแบบ "What-If"

การทำเหมืองข้อมูล
การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) คือ การหารูปแบบ (pattern) อะไรบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล ที่มองผิวเผินแล้วไม่อาจสังเกตเห็นได้ เนื่องจากข้อมูลมีปริมาณมาก เช่น การค้นหากฎความสัมพันธ์ (association rules) ของสินค้าในห้างสรรพสินค้า เราอาจพบว่าลูกค้าร้อยละ 90 ที่ซื้อเบียร์ จะซื้อผ้าอ้อมเด็กด้วย, ซึ่งเป็นข้อมูลให้ทางห้างคิดรายการส่งเสริมการขายใหม่ๆ ได้; หรือ ธนาคารอาจพบว่า คนทั่วไปที่มีอายุ 20-29 ปี และมีรายได้ในช่วง 20,000-30,000 บาท มักซื้อเครื่องเล่นเอ็มพีสาม, ธนาคารอาจเสนอให้คนกลุ่มนี้ทำบัตรเครดิต โดยแถมเครื่องเล่นดังกล่าว เป็นต้น..........................

ลักษณะเด่นของคลังข้อมูล
ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูง ถึงแม้ว่าจะมีการลงทุนที่ต่ำก็ตาม
เนื่องจากมีการให้ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูง จึงสามารถทำให้องค์กรเกิดความได้เปรียบคู่แข่งขันในแง่ของการได้รับข้อมูลและสารสนเทศก่อนคู่แข่งขันเสมอ จึงทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อทำการกำหนดเป็นกลยุทธ์ และกำหนดทิศทางในการดำเนินงานได้ก่อนคู่แข่งขัน เช่น พฤติกรรมของผู้บริโภค ความต้องการทางตลาด และแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภค
เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผู้ตัดสินใจ เนื่องจากคลังข้อมูลได้รับการให้ข้อมูลที่รับมาจากแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกัน มีความสอดคล้องกัน และวิเคราะห์ตามประเด็นที่ผู้ตัดสินใจต้องการ อีกทั้งข้อมูลที่มีอยู่ในคลังข้อมูลก็มีปริมาณมากทั้งข้อมูลในอดีตและปัจจุบัน จึงทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
ทำให้สะดวกและรวดเร็วในการค้นหาข้อมูลต่างๆ และลดความซ้ำซ้อนกันของข้อมูลอีกด้วย



Data mining



Data Mining คือ ชุด software วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ มันเป็น software ที่สมบรูณ์ทั้งเรื่องการค้นหา การทำรายงาน และโปรแกรมในการจัดการ ซึ่งเราคุ้นเคยดีกับคำว่า Executive Information System ( EIS ) หรือระบบข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในการบริหาร ซึ่งเป็นเครื่องมือชิ้นใหม่ที่สามารถค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการบริหาร ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับฐานข้อมูลที่มีอยู่

Data Mining เป็นกระบวนการ (Process) ที่กระทำกับข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อค้นหารูปแบบ แนวทาง และความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ในชุดข้อมูลนั้นโดยอาศัยหลักสถิติ การรู้จำ การเรียนรู้ของเครื่อง และหลักคณิตศาสตร์เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เราไม่รู้ออกมา โดยสารสนเทศที่ได้จะมีเหตุผลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

เทคนิคต่าง ๆ ของ Data Mining

1. Association rule Discovery

หลักการทำงาน คือ การค้นหาความสัมพันธ์ของข้อมูลจาก
ข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีอยู่ เพื่อนำไปวิเคราะห์ หรือทำนาย
ปรากฎการณ์ต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์การซื้อสินค้าของลูกค้า
เรียกว่า “Market Basket Analysis”

2. Classification & Prediction

ป็นการแบ่งประเภทของข้อมูล โดยจะหากฎเพื่อระบุประเภทวัตถุจากคุณสมบัติของวัตถุ เช่น
การหาความสัมพันธ์ระหว่างผลการตรวจร่างกายต่างๆ กับการเกิดโรค โดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยและการวินิจฉัยของแพทย์ที่
เก็บไว้เพื่อนำมาช่วยในการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วย

3. Database Clustering Or Segmentation

เป็นเทคนิคการลดขนาดของข้อมูล ด้วยการรวมกลุ่มตัวแปร
ที่มีลักษณะเดียวกันไว้ด้วยกัน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์
เช่นตัวอย่าง
บริษัทจำหน่วยรถยนต์ได้แยกกลุ่มลูกค้าออกเป็น 3 กลุ่ม
1. กลุ่มผู้มีรายได้สูง (> 80,000)
2. กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง (25,000 - 80,000)
3. กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ (<>

4. Deviation Detection

เป็นกรรมวิธีในการหาค่าที่แตกต่างไปจากมาตรฐาน หรือค่า
ที่คาดคิดไว้ว่าต่างไปมากน้อยเพียงใด โดยทั่วไปมักใช้วิธีทาง
สถิติ หรือการแสดงให้เห็นภาพ (Visualization)
ตัวอย่างการนำเทคนิคนี้ใช้
การตรวจสอบลายเซ็นปลอม
บัตรเครดิตปลอม
การหาจุดบกพร่องของชิ้นงานในโรงงานอุตสาหกรรม

5. Link Analysis

จุดมุ่งหมายของ Ling Analysis คือ การสร้าง Link ที่เรียกว่า
“associations” ระหว่าง Recode เดียว หรือ กลุ่มของ
Record ในฐานข้อมูล
Link Analysis สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด
- associations discovery
- sequential pattern discovery
- similar time sequence discovery

การประยุกต์ใช้งาน Data Mining

การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์
ธุรกิจค้าปลีก
การวิเคราะห์บัตรเครดิต
การวิเคราะห์การขาย
E-Commerce
ด้านการศึกษา

นางสาวสุพัตรา วงค์สุพรรณ รหัส 5122702134

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

แนะนำตัวเอง




ชื่อ นางสาวสุพัตรา วงค์สุพรรณ


ชือเล่น หน่อย


วัน/เดือน/ปี เกิด วันที่ 19 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2518


ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน บ้านเลขที่ 7 หมู่ 10 ตำบลลมศักดิ์ อำเภอขุขันธ์

จังหวัดศรีสะเกษ


ประวัติการศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) การบัญชี

ปัจุบัน กำลังศึกษา หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรบัณทิต

สาขา การจัดการคลัง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ


อาชีพ รับราชการ


ประวัติการทำงาน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี องค์การบริหารส่วนตำบลลมศักดิ์ อำเภอขุขันธ์


จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2548 ถึงปัจจุบัน


สถานะ โสด

วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

องค์ความรู้














การทำงาน


1.การจัดทำฎีกา มีขั้นตอนดังนี้
- ตรวจสอบก่อนว่ามีงบประมาณหรือไม่
- เมื่อมีงบประมาณ

1.หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ วางฎีกาเบิกจ่ายเงินก่อนวันที่ 25 ของทุกเดือน

2. หมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ,ครุภัณฑ์ ,และ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และมีการจัดซื้อจัดจ้าง พัสดุต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างก่อน
- พัสดุส่งมอบเอกสารจัดซื้อจัดจ้าง ให้การเงินทำฏีกาเบิกจ่ายเงิน
- การเงินจัดทำฎีกา ซึ่งรายละเอียดของฏีกา ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 หน้าฏีกา ต้องมี เรื่องที่จะเบิก เช่น จัดซื้อวัสดุสำนักงาน ต้องพิมพ์ที่หมวด ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ ลักษณะ ค่าจัดซื้อวัสดุสำนักงาน หน้าฎีกา จะต้องมีลายมือชื่อหัวหน้าหน่วยงานผู้เบิก ผู้จัดทำฎีกา ผู้ตรวจฎีกา ผู้จ่ายเงิน ผู้อนุมัติฏีกา 3 คน คือ นายก อบต.ลมศักดิ์ ปลัด อบต.ลมศักดิ์ และหัวหน้าส่วนการคลัง
ถ้าผู้รับจ้าง เป็นบุคคลธรรมดา ถ้าการซื้อหรือจ้างวงเงิน 10,000 บาท ต้องมีการหัก ภาษี 1 % เพื่อนำส่ง สรรพากร
แต่ถ้าเป็น นิติบุคคล ถ้าการสั่งซื้อ/จ้าง เกิน 500 บาท ต้องมีการหัก ภาษี เช่นกัน

ส่วนที่ 2 งบรายละเอียดประกอบฎีกา บอกรายละเอียดเรื่องที่จะจัดซื้อจัดจ้างนั้น
ส่วนที่ 3 ใบรับรองผู้เบิก ต้องมีหัวหน้าสำนักแต่ละส่วนที่เบิก ลงชื่อรับรองการเบิกจ่าย
ส่วนที่ 4 ขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน หัวหน้าส่วนการคลัง ต้องเป็นผู้ขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน ผ่านปลัด และนายก

อบต. เป็นผู้อนุมัติเรื่องที่จะเบิกจ่าย เมื่อนายก อบต.อนุมัติเรื่องที่จะเบิกจ่าย หัวหน้าส่วนการคลัง จัดทำเช็คสั่งจ่ายให้ผู้รับจ้าง ต่อไป
เมื่อ หัวหน้าส่วนการคลัง ปลัด อบต. และนาย อบต. เซ็นต์เช็คสั่งจ่ายแล้ว เจ้าหน้าที่การเงินฯต้องนำเช็คไปจ่ายให้ผู้รับจ้างต่อไป


2. การจัดทำรายงานสถานะการเงินคงเหลือประจำวัน
เมื่อมีการรับจ่ายเงินทุกวัน เจ้าหน้าที่การเงินจะต้องจัดทำรายงานสถานะเงินคงเหลือประจำวัน เพื่อเสนอให้ผู้บริหารรับทราบ สถานะการเงินการคลัง



3.การจัดทำกระดาษทำการกระทบยอด
แต่ละเดือนเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ต้องสรุปรายจ่ายว่าแต่ะละเดือนในแต่ะละหมวดรายจ่ายใช้จ่ายเงินไปทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงินเท่าใหร่ แล้วตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงเดือนที่เราจัดทำกระดาษทำการกระทบยอด หมวดรายจ่ายใหนมีการใช้จ่ายเงินมากที่สุด



หน้าที่รับผิดชอบ







ชื่อ นางสาวสุพัตรา วงค์สุพรรณ


ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี


สังกัด ส่วนการคลัง อบต.ลมศักดิ์


สำนักงาน องค์การบริหารส่วนตำบลลมศักดิ์
บ้านอาทิ หมู่ 2


อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ



หน้าที่รับผิดชอบ





  • จัดทำฏีกา ส่วนการคลัง และสำนักปลัด



  • ออกใบเสร็จรับเงิน




  • นำเงินฝากธนาคาร




  • สิ้นเดือนทำกระดาษทำการกระทบยอด (รายรับ - รายจ่าย)




  • ตัดการ์ดทะเบียนรายจ่ายตามงบประมาณ




  • จัดเก็บฏีกาประจำเดือน ประจำปีงบประมาณ




  • รายงานการเจาะปรุใบเสร็จรับเงินประจำปีงบประมาณ










สถานที่ทำงาน







ทึ่ตั้ง บ้านอาทิ หมู่ 2 ตำบลลมศักดิ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

33140 โทร.045-818024

โครงสร้าง อบต.ลมศักดิ์ แบ่งเป็น 4 สำนัก
1. สำนักปลัด
2.ส่วนการคลัง

3.ส่วนโยธา

4.ส่วนการศึกษา

สำนักปลัด ประกอบด้วย


1.นางณัฐภรณ์ สัณหจันทร์ ตำแหน่ง ปลัด อบต.ลมศักดิ์

2.นางสุภาภรณ์ คำวิเชียร ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน

3.นายศิริชัย บุญจูง ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
4.นางสาวนิตยา พันธเสน ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการ
5.นายจรูญ ศิลปักษา ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

6.นางศิริ อายุวงษ์ ตำแหน่ง คนงานทั่วไป


ส่วนการคลัง ประกอบด้วย





1.นางสาวชลธิชา ดวงศรี ตำแหน่ง หัวหน้าส่วนการคลัง





2.นางสาวอุไร บัวจันทร์ ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชี





3.นางสาวกรภัทร์ บุญมา ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัสดุ





4.นางสาวสุพัตรา วงค์สุพรรณ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี





5.นางสาวนิตยา กิมหงวน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้





6.นางสมัญญา ทองมนต์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี





7.นายณัฐวุฒิ กำเนิดกาลืม ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้





ส่วนโยธา ประกอบด้วย





1.นายชำนาญ ศรีพรม ตำแหน่ง นายช่างโยธา





2.นายอนุวัตร บรรลือหาญ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่การประปา





3.นายชัชวาล พันธ์จันทร์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยช่างโยธา





4.นายสังวาล ศรีดาชาติ ตำแหน่ง พนักงานจดมาตรวัดน้ำประปา





ส่วนการศึกษา ประกอบด้วย





1.นางสาวอันนภา แสงศรี ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา รักษาราชการแทนหัวหน้าส่วนการศึกษา





2.นางวิสาร วงษ์นิล ตำแหน่ง ครูผู้ดูแลเด็ก ศพด.ม.1





3.นางพิสมัย สุพันธ์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ ศพด.ม.1





4.นางสุกัญญา สุขกาย ตำแหน่ง ครูผู้ดูแลเด็ก ศพด.ม.8





5.นางสมใจ อายุวงษ์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยครูผู้ดูแล ศพด.ม.8